ทำอย่างไรจะหายโกรธ[1]
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต)[2]
ทำอย่างไรจะหายโกรธ
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยกายวาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุขปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า
อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความโกรธ ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ ก็หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจตัวเอง ในเวลานั้นเมตตาหลบหายไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธ ทั้งที่ไม่ต้องการไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไร
โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือโดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักโกรธเท่านั้น แต่เป็นคติแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึงขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้
ขั้นที่ ๑ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
ขั้นที่ ๒ พิจารณาโทษของความโกรธ
ขั้นที่ ๓ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
ขั้นที่ ๔ พิจารณาว่าความโกรธคือการสร้างทุกข์ให้กับตัวเองและเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู
ขั้นที่ ๕ พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
ขั้นที่ ๖ พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า
ขั้นที่ ๗ พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ
ขั้นที่ ๘ พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา
ขั้นที่ ๙ พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ
ขั้นที่ ๑๐ ปฏิบัติทานคือการให้หรือแบ่งปันสิ่งของ
[1] เรื่องนี้เขียนตามแนวคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ภาค ๒ หน้า ๙๓ – ๑๐๖ แต่แทรกเสริมเติมและตัดต่อเรียบเรียงใหม่ตามที่เห็นสมควร ของเดิมมี ๙ วิธี ในที่นี้ขยายออกเป็น ๑๐ วิธี และเนื้อหาเก่า ท่านมุ่งสอนพระภิกษุผู้บำเพ็ญเมตตากรรมฐาน ในที่นี้เขียนปรับความให้เหมาะแก่คนทั่วไป
[2] นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางค์กูร เกิดเมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๔๘๑ ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชาเมื่อ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๔ สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค ได้ ขณะที่เป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง ร อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๐๔ สบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับ ๑)จากมหาจุใลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ ๒๕๐๕ และสอบได้วิชาชุดครู พ.ม. เมื่อ ๒๕๐๖ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก ๑๐ สถาบัน ๑๑ ปริญญา ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม